Tuesday 24 January 2012

ดอกบัวคู่ส่ง"รังนก"รับเทรนด์สุขภาพ ปูพรมยี่ปั๊ว-งัดกลยุทธ์ราคาเขย่า"แบรนด์-สก็อต"


ดอกบัวคู่ขยายไลน์ธุรกิจ เปิดตัวอาหารเสริม "รังนก" เจาะตลาด ใช้จุดได้เปรียบความเป็นเจ้าของวัตถุดิบ "บ้านรังนก" ที่ปากพนัง ชูจุดขายเพิ่มปริมาณเนื้อรังนก 2 เท่าสู้ผู้นำ แบรนด์-สก๊อต เจาะยี่ปั๊ว โชห่วย พร้อมปูพรมกูร์เมต์ มาร์เก็ต เดอะ มอลล์ทุกสาขา เดินหน้าสร้างแบรนด์ โรดโชว์-ชงชิม หวังผู้บริโภคทดลองมากที่สุด ตั้งเป้าเติบโต 2 เท่าปีนี้


นายปิติ ลีเลิศพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดอกบัวคู่ จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้ขยายไลน์ธุรกิจด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ "รังนก" ภายใต้แบรนด์ "ดอกบัวคู่" โดยทดลองตลาดตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา และจะเริ่มรุกตลาดมากขึ้นในปีนี้ ปัจจุบันมีวางจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไปที่เป็นเทรดดิชั่นนัล โดยใช้หน่วยจัดจำหน่ายของบริษัทเป็นผู้กระจายสินค้าด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังมีวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตของ เดอะมอลล์ทุกสาขา โดยปีนี้จะเน้นสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เน้นที่บีโลว์เดอะไลน์เป็นหลัก อาทิ การโรดโชว์ และจัดชงชิมตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสทดลองสินค้ามากที่สุด

Next Step ไทยเบฟฯ เปลี่ยน “ช้าง” ไทยให้อินเตอร์

เบื้องหลัง ช้างเอ็กซพอร์ตคือ ก้าวสำคัญอีกครั้งของไทยเบฟฯ มองช้ามช็อต ปูทางไปสู่ตลาดโลก โดยสร้างBrand Identity ใหม่ สลัดทิ้งภาพเบียร์ไทย สู่ภาพความเป็นแบรนด์วัยรุ่นอินเตอร์ เลือกใช้เอเยนซี่ระดับแถวหน้าจากโซโห นิวยอร์กที่เคยปั้นแบรนด์เป๊ปซี่จนสำเร็จมาแล้ว พร้อมทุมงบมหาศาลกว่า 1,400 ล้านบาท เพื่อแจ้งเกิดแบรนด์ช้างในต่างประเทศและไทย
ไทยเบฟฯ เลือกแถลงข่าว ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีผู้บริหารมาอย่างพร้อมเพรียง แต่บนเวทีฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ยกให้ แมทธิว กิจโอธาน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นผู้แถลงข่าว ขณะที่ตัวเขานั่งฟังอย่างอารมณ์ดี เพราะเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลง Brand Identity และการรุกตลาดแบบครบเครื่องจะทำให้มียอดขาย ณ สิ้นปี 2555 ราว 36,000 ล้านบาท มาดูกันว่ารายละเอียดเบื้องหลังและกลยุทธ์ใดบ้างที่จะทำให้ช้างบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้
ต้องยอมรับว่า แม้ในตลาดภายในประเทศ ปี 2554 ไทยเบฟฯ จะมียอดขายของทุกผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ช้างกว่า 28,000 ล้านบาท แต่สำหรับตลาดเบียร์แล้ว ส่วนแบ่งตลาดของเบียร์ช้างยังตามหลังค่ายสิงห์อยู่ โดยค่ายบุญรอดมีส่วนแบ่งตลาด 64% ในขณะที่ค่ายเบียร์ช้างมีส่วนแบ่งตลาด 30%

Tuesday 10 January 2012

ค่ายใหญ่รุมแย่งแชร์สกินแคร์ชาย ตลาดโตกระฉูด-P&Gผนึกมอเตอร์สปอร์ตสู้ NIVEA


Photo Source: http://www.manager.co.th/
สกินแคร์ผู้ชายโตแบบฉุดไม่อยู่สิ้นปี"54 กว่า 35% รับพฤติกรรม ชายยุคใหม่ ใส่ใจตัวเองมากขึ้นพีแอนด์จีชี้แนวโน้มผู้ชายเลือกซื้อ สกินแคร์เอง พร้อมรุกตลาดเต็มที่ หวังดัน "โอเลย์เมน+ยิลเล็ตต์" ติด ลมบน ปลายปีที่แล้วส่งแคมเปญมอเตอร์สปอร์ตมัดใจชาย ตั้งเป้าปั้นอิมเมจขึ้นผู้นำความสวยความงามทั้งชายและหญิง
ที่ผ่านมา ตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชาย มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไลฟ์สไตล์และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ส่วนหนึ่งก็มาจากผู้ประกอบการหลายค่ายพากันกระโดดเข้ามาเล่น ช่วยปลุกให้ตลาดตื่นตัวขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคผู้ชายในยุคนี้มีความรู้ความเข้าใจกับการดูแลตัวเองมากขึ้น จากในอดีตที่มักใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเองตามที่ผู้หญิงหรือแม่บ้านที่เป็นคนในครอบครัวซื้อ ก็หันมาเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมกับตัวเอง
ค่ายที่มีการรุกตลาดอย่างน่าสนใจตลอดปีที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นคือ"พี แอนด์ จี" ที่ใช้กลยุทธ์ "มัลติแบรนด์" ที่มีทั้ง "โอเลย์-ยิลเล็ตต์" ช่วยกันผนึกกำลังมัดใจกลุ่มผู้ชายไทยที่มีแคแร็กเตอร์ที่แตกต่างกัน เพื่อต่อกรกับเบอร์ 1 "นีเวีย"


สินค้าผู้ชายบูมโต 35%

นายวรศิษย์ ตุรงค์สมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ประจำประเทศไทย บริษัท พี แอนด์ จี ประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวรวมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2554 มีมูลค่ากว่า 7,600 ล้านบาท มีการเติบโต 6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 แบ่งเป็นตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้หญิง กว่า 6,700 ล้านบาท เติบโตเพียง 3% ขณะที่ตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้ชาย มูลค่ากว่า 880 ล้านบาท เติบโตถึง 34% มีการเติบโตทั้งปี มากกว่า 35%

หากดูแนวโน้มส่วนแบ่งระหว่างผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้ชายกับผู้หญิงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้ชายเติบโตขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2552 ที่มีสัดส่วนเพียง 7% ของตลาดบำรุงผิวโดยรวม เพิ่มเป็น 9% ในปี 2553 และล่าสุดในปี 2554 เพิ่มเป็น 12% เช่นเดียวกับอัตราการเติบโต โดยเฉพาะในปี 2553 ที่เติบโตถึง 37% ขณะที่ตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผู้หญิงเติบโตคงที่

"ปัจจัยการเติบโตในปีที่ผ่านมา ส่วนสำคัญมาจากผู้เล่นรายใหม่ ๆ ที่เข้ามาในตลาด ซึ่งมากขึ้นอย่างชัดเจน หากเทียบกับปี 2553 สำหรับพี แอนด์ จี ยังถือเป็นผู้เล่นรายใหม่ในตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชาย โดยเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กลยุทธ์หลัก ๆ ของเรา คือเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง ที่สำคัญต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย"

ปั้นอิมเมจสู่บิวตี้คอมปะนี

ส่วนแผนดำเนินธุรกิจในปีนี้ ยังเดินหน้าโปรโมตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้อย่าง ต่อเนื่อง โดยจะมีกิจกรรมและแคมเปญออกมาเพื่อให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสทดลองสินค้า รวมไปถึงร่วมกิจกรรม ต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล อาทิ เฟซบุ๊กที่คอยสื่อสารและเชื่อมโยงกับผู้บริโภค ให้ผู้บริโภครู้จัก และได้รับความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงสร้าง แบรนด์อะแวร์เนสให้กับโอเลย์เมน และยิลเล็ตต์ สกินแคร์ รวมไปถึงการจัดทำโปรโมชั่นต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสทดลองสินค้า

"โดยภาพรวม เราต้องการให้พี แอนด์ จี มีภาพลักษณ์ที่เป็นผู้นำทางด้านของ Beauty and Grooming ซึ่งไม่เพียงแต่ดูแลความงามของผู้หญิง แต่ดูแลภาพลักษณ์ของผู้ชายด้วยเช่นกัน"

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผู้ชายของพี แอนด์ จี ประกอบด้วย 2 แบรนด์หลัก คือโอเลย์เมนและยิลเล็ตต์ โดยวางจุดขายที่แตกต่างกัน สำหรับโอเลย์ ด้วยความเป็นผู้นำสกินแคร์สำหรับผู้หญิงมาอย่างยาวนานมาเป็นจุดขายหลัก โดยนำเอาความเชี่ยวชาญในเรื่องของการบำรุงผิวมาพัฒนาเป็นโอเลย์เมน ที่ออกแบบมาเพื่อผู้ชายโดยเฉพาะ ขณะที่ยิลเล็ตต์ ด้วยความเป็นผู้นำในด้านผลิตภัณฑ์โกนหนวด ซึ่งเป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน การเปิดตัวสกินแคร์ก็เพื่อให้ผู้บริโภคมีผลิตภัณฑ์กรูมมิ่งของยิลเล็ตต์อย่างเต็มระบบ เริ่มตั้งแต่การ เตรียมผิว โกนหนวด จนไปถึงการบำรุงผิวให้ดูสุขภาพดี

เชื่อมมอเตอร์สปอร์ตย้ำแบรนด์

เพื่อกระตุ้นยอดขายในกลุ่มสินค้าสำหรับผู้ชาย ช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้เปิดตัวแคมเปญกับมอเตอร์สปอร์ต "Champion Experience" หรือประสบการณ์แบบไม่ตามใคร ถือเป็น แคมเปญแรกที่ทางพี แอนด์ จี นำผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกรูมมิ่งสำหรับผู้ชายมารวมเป็นแคมเปญโปรโมชั่นให้กับผู้บริโภค เพื่อสร้างอะแวร์เนสให้กับสินค้า และเอดูเคตให้ผู้บริโภครู้จักผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชายของพี แอนด์ จี ทั้งนี้ การเลือกจับคู่แคมเปญกับมอเตอร์สปอร์ต เพราะมองว่าเป็นกิจกรรมที่ผู้ชายให้ความสนใจ และต้องการนำคอนเซ็ปต์ของมอเตอร์สปอร์ตมาเชื่อมกับ performance ของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอกย้ำแบรนด์มากขึ้น

ชายยุคใหม่ซื้อสกินแคร์ด้วยตัวเอง

นายวรศิษย์กล่าวอีกว่า แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคผู้ชายในช่วงปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ชัดเจนมากขึ้น อาทิ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงในกลุ่มพื้นฐาน กลุ่มไวท์เทนนิ่ง หรือแม้กระทั่งซื้อสินค้าตามเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เป็นผลมาจากการที่มีสินค้าสำหรับผู้ชายออกมาในตลาดที่มีความหลากหลายมากขึ้น และระดับราคาก็มีความหลากหลายมากขึ้นเช่นกัน

ในส่วนของตลาดแมส ปัจจุบัน พฤติกรรมการเลือกซื้อและบริโภคออกเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ กลุ่มแรก จะเป็นผู้ชายที่มีไลฟ์สไตล์ชอบผจญภัย (adventurous) และมีลักษณะความเป็นชายสูง (masculine) ซึ่งจะชื่นชอบกิจกรรมกลางแจ้ง และเลือกซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อ โดยจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เห็นและหยิบง่าย ส่วนกลุ่มที่สอง เป็นผู้ชายที่มีความใส่ใจในภาพลักษณ์ของตัวเอง และเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจและศึกษาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของตัวเองมากกว่ากลุ่มแรก โดยได้แรงบันดาลใจมาจากพฤติกรรมการเลือกซื้อแบบผู้หญิง


Thursday 5 January 2012

ธุรกิจเครื่องดื่มเปลี่ยนทิศ


ตลาดเครื่องดื่มมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาทในปีนี้ แม้หลายกลุ่มเครื่องดื่มจะมีการถดถอย เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ร้อนมาก และวิกฤตการณ์น้ำท่วม ที่ส่งผลกระทบกับโรงงาน และการกระจายสินค้า ทำให้เครื่องดื่มหลายประเภท

หลายแบรนด์ ยอดขายลดลงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ปี55 นี้ทิศทางตลาด ยังคงแข่งขันกันดุเดือด ผู้นำในตลาดมีแนวโน้มเปลี่ยนมือ เนื่องจากผลกระทบที่ยังต่อเนื่อง รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การเลือกบริโภคเครื่องดื่มไม่ได้เน้นแค่สุขภาพ แต่มีอารมณ์ ความต้องการ เข้ามาผนวก ทำให้ "แพ็กเกจจิ้ง" และ "นวัตกรรม" กลายเป็นเครื่องมือการตลาดสำคัญ ที่นักการตลาดไม่สามารถมองข้าม