Friday 23 September 2011

ทางลัด PEPSI สู้ศึกน้ำอัดลม ซื้อ รง.เก่า-จ้างเอเย่นต์อุดรอยรั่ว

ตลาดน็อนแอลกอฮอล์ไทยกว่าแสนล้านบาทจากนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ด้วยภาพการแข่งขันที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อผู้นำตลาดน้ำอัดลมเมืองไทยอย่าง "เป๊ปซี่" ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% ต้องเพลี่ยงพล้ำในศึกชิง "เสริมสุข" บริษัทจัดจำหน่ายสินค้าในเครือเป๊ปซี่มาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี
ปล่อยให้ "ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติกส์" เข้ามาเสียบเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเสริมสุขแทน
เท่ากับปิดฉากบทบาทของ "เป๊ปซี่" ในเสริมสุข ที่มีมาอย่างยาวนานลง
ความน่าสนใจจากนี้คือการหาพันธมิตรใหม่ของเป๊ปซี่ ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ "บรรจุขวดและจัดจำหน่าย" แทนเสริมสุข เพื่อสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างไม่สะดุด

Tuesday 13 September 2011

'ไทยเบฟฯ'ฮุบหุ้นเสริมสุข ควัก15,000ล้านปิดดีลพลิกขอซื้อทั้งหมดจากเป๊ปซี่

ตามคาดเสี่ยเจริญใส"ช้าง"เฉือนเป๊ปซี่วินาทีสุดท้าย พลิกทุ่มเงิน 6,400 ล้านบาท ปิดดีล"เสริมสุข"หลังเปิดศึกในการขัดแย้งยืดเยื้อข้ามปี   พร้อมตั้งโต๊ะกวาดหุ้นจากรายย่อย เบ็ดเสร็จใช้เงิน 15,000 ล้าน   ฐาปนเปิดแถลงทันที หวังติดปีกธุรกิจเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ไทยเบฟฯทะยาน  เป๊ปซี่แถลงด่วน ยันไม่ทิ้งตลาดเมืองไทย             
 ปิดฉากศึกชิงหุ้นบริษัท เสริมสุข จำกัด(มหาชน) (บมจ.)(SSC) ระหว่างผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเป๊ปซี่โค กับบริษัท เอสเอสเนชั่นแนล โลจิสติกส์ จำกัด (SSN)(เอสเอสเอ็น) หลังกินเวลายาวนานเกือบปีครึ่ง และตามคาดบุรุษผู้อยู่เบื้อง SSN  คือ เจ้าพ่อน้ำเมา"เจริญ สิริวัฒนภักดี" ตามที่มีกระแสข่าวลือตั้งแต่แรก
 

Tuesday 6 September 2011

สเต็ปใหม่ "โออิชิ-ไทยเบฟฯ" ตั้งศูนย์ "ฮ่องกง" ลุยชาเขียวทั่วโลก

วันนี้สงครามราคาของตลาด ชาเขียวยังไม่สิ้นสุดลงง่าย ๆ เมื่อทั้งโออิชิ และอิชิตัน ต่างเปิดฉากแลกหมัดกันอย่างไม่มีใครยอมใคร รวมถึงมีคู่แข่งใหม่อย่าง "มิเรอิ" ของซันโตรี่ และทิปโก้ เข้ามาร่วมวง ก็ยิ่งทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก วันนี้ มิเรอิ ขายในเซเว่นอีเลฟเว่น 16 บาท ขณะที่โออิชิขาย 2 ขวด 25 บาท ส่วนอิชิตันกลับมายืนที่ราคาเดิม 16 บาท หลังจากเพิ่งหมดโปรโมชั่น 14 บาท ไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา

แน่นอนว่างานนี้ผู้ได้รับประโยชน์คือผู้บริโภค แต่หากมองในแง่การแข่งขันถือว่าผู้นำอย่างโออิชิอยู่ในภาวะได้เปรียบด้วยสายป่านที่ยาวกว่า ความเป็นผู้นำตลาด ที่ได้เปรียบเรื่องสเกลการผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตถูกกว่าแบรนด์อื่น ๆ ล่าสุดกับการเปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เรียกว่า Cold Aseptic Filling จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่นำเทคโนโลยี ดังกล่าวมาใช้ในการผลิตได้สำเร็จ